วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

นวัตกรรม เรื่อง ต้นไม้แสนรัก




สื่อนวัตกรรม
ชุด  การจัดการเรียนรู้เรื่อง ต้นไม้แสนรัก ระดับชั้นอนุบาล 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  (วิทยาศาสตร์)

                                         
จัดทำโดย

นางสาว วราพร  โมตาลี

นักศึกษาภาคปกติ  ชั้นปีที่ 2  ห้อง 2

รหัสนักศึกษา 61181860213  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ( ค.บ.5 ปี )

เสนอ

อาจารย์ วสันต์  แปงจิตต์

คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
รหัสวิชา(1032701)

ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2562








บทนำ

             บทเรียน เรื่องต้นไม้แสนรัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้จัดประสบการณ์ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย     สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 เกี่ยวกับต้นไม้แสนรัก  มีทั้งหมด กิจกรรมการเรียนรู้   ได้แก่
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1  ชื่อของต้นไม้
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่
2   ส่วนต่างๆของต้นไม้
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3   การเจริญเติบโตของต้นไม้
                                       
  กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4  ประโยชน์และโทษของการตัดไม้
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5   การดูแลรักษาและการอนุรักษ์ต้นไม้


ชุดนี้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาระดับชั้นอนุบาล 3  เกี่ยวกับเรื่อง ต้นไม้แสนรัก    บทเรียนสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ดังนี้  สาระเกี่ยวกับพืช   เรื่องที่นำมาเรียน ได้แก่  ต้นไม้แสนรัก  กิจกรรมการเรียนรู้  โดยผู้จัดทำได้จัดทำให้แต่ละกิจกรรมการเรียนรู้  มีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย  พุทธศักราช 2546
 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ระดับชั้นอนุบาล 3  และได้จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความสอดคล้องของผู้เรียนและการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยมีวัตถุประสงค์    เพื่อใช้พัฒนาทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  และใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   วิชาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ระดับชั้นอนุบาล 3 
             ผู้จัดทำขอขอบพระคุณ  คุณครูวสันต์  แปงจิตต์ ที่ได้ให้ความรู้  คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดทำบทเรียน เรื่อง ธรรมชาติรอบตัว  สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ในครั้งนี้ พร้อมด้วยทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและให้คำแนะนำในการตรวจสอบเนื้อหาในบทเรียน  ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียน เรื่อง ธรรมชาติรอบตัว สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  การสอนของครู   เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนได้รู้วิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยตนเองและเป็นผู้เรียนที่พึ่งตนเองได้ มีทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นและสามารถพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
                                                                    
                      

                                                             วราพร   โมตาลี                     
                                                                    ผู้จัดทำ





 











คำชี้แจงบทเรียน

บทเรียน  เรื่อง ต้นไม้แสนรัก  ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้สอนนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 เกี่ยวกับ ต้นไม้แสนรัก   
             การเรียนรู้จัดประสบการณ์ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 เกี่ยวกับต้นไม้แสนรัก  มีทั้งหมด กิจกรรมการเรียนรู้   ได้แก่          
                       
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1  ชื่อของต้นไม้
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่
2   ส่วนต่างๆของต้นไม้
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3   การเจริญเติบโตของต้นไม้
                                       
  กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4  ประโยชน์และโทษของการตัดไม้
                                         กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5   การดูแลรักษาและการอนุรักษ์ต้นไม้


             เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อม บทเรียนชุดนี้ได้กำหนดเนื้อหาและวัตถุประสงค์ตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย  พุทธศักราช 2546    
คำนึงถึงความสอดคล้องของผู้เรียนและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้พัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้จัดประสบการณ์ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาและทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ผู้เรียนจะสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล    โดยมีกระบวนการ ดังนี้
1.  ตอบแบบทดสอบก่อนเรียน ตามความเข้าใจของตนเองไปก่อน  แม้ตอบผิดไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร  เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนจนจบทุกตอนแล้ว จะสามารถตอบคำถาม ได้ถูกต้องในขั้นตอนสุดท้าย
2.  ศึกษาเนื้อหา โดยบทเรียนนี้เสนอเนื้อเรื่องเป็นส่วนย่อย ๆ  เป็นกรอบต่อเนื่องกันไป
3.  ในทุกกรอบจะมีแบบฝึกหัดและแบบทดสอบระหว่างเรียน  ทดสอบความรู้ความเข้าใจ  เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน
4. เมื่อทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบระหว่างเรียนในแต่ละเรื่องเสร็จแล้ว  ครูก็จะตรวจแบบฝึกหัดในห้อง
5.  เมื่อศึกษาจบทุกเรื่องแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน  เพื่อประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนของตนเอง
              โดยบทเรียนนี้จะประกอบด้วย
 1. แบบทดสอบก่อนเรียน แบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ
  2. เนื้อหาที่ต้องศึกษา
  3. วิดีโอช่วยสอน
  4. แบบฝึกหัด
  5.  แบบทดสอบหลังเรียน แบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ    

                    
เกณฑ์การวัดผล
            คะแนนเก็บระหว่างภาคเรียน                                                80  คะแนน
            มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ                         10  คะแนน
            แบบฝึกหัดประจำหน่วยการเรียนรู้                                       25  คะแนน
            ช่วยเหลือแนะนำเพื่อนในการทำกิจกรรมตามสมควร          10  คะแนน
            ปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้เป็นประจำ                         10  คะแนน
            แบบทดสอบหลังเรียน                                                          20  คะแนน
            รู้จักการสังเกตได้ดี                                                               10  คะแนน
            มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมห้อง                                             15  คะแนน
            รวม                                                                                      100 คะแนน


เกณฑ์การประเมินผล
            ค่าระดับคะแนน
            ค่าเฉลี่ย  3.50 – 4.00  หมายถึง  ผลประเมินดีมาก
ค่าเฉลี่ย  3.00 – 3.49  หมายถึง  ผลประเมินดี
ค่าเฉลี่ย  2.50 – 2.99  หมายถึง  ผลประเมินพอใช้
ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า  2.50   หมายถึง  ผลประเมินควรปรับปรุง








วัตถุประสงค์ของบทเรียน

     1.     เพื่อให้เด็กได้รู้จักชื่อของต้นไม้
    
2.    เพื่อให้เด็กได้รู้จักส่วนประกอบต่างๆของต้นไม้
    
3.    เพื่อให้เด็กได้รู้จักการเจริญเติบโตของต้นไม้
    
4.    เพื่อให้เด็กได้รู้ถึง ประโยชน์และโทษของการตัดไม้
    
5.    เพื่อให้เด็กได้รู้จักการดูแลรักษาและการอนุรักษ์ต้นไม้








แบบทดสอบก่อนเรียน
            1.  ข้อใดคือรูปของต้นมะขาม



      2. ข้อใด ไม่ใช่ ส่วนประกอบของต้นไม้


        3. ข้อใดเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
        

      4.ข้อใดคือการเจริญเติบโตของต้นไม้เป็นลำดับที่ 2

  
         
         5. ข้อใดคือโทษของการตัดต้นไม้



         6. ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์ต้นไม้



           7. ข้อใดคือประโยชน์ของต้นไม้





           8. ข้อใดคือการดูแลรักษาต้นไม้


          
          9. ข้อใดเป็นส่วนประกอบของต้นไม้


        
           10.    จากภาพข้อใดคือผลของใบในภาพ











 เนื้อหาบทเรียน 
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1  ชื่อของต้นไม้




ชื่อของต้นไม้


ลักษณะทั่วไป
ต้นมะยม





         มะยมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นตรงและแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ผิวเปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย ใบรูปขอบขนานกลม หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อและออกตามกิ่ง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน ผลรูปร่างกลมแบนมี 3 พู ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลืองเมล็ดรูปร่างกลม เห็นเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน
ต้นมะม่วง



  มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 1030 เมตร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด ผล ผล ยาวประมาณ 520 ซม. กว้าง 48 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด
ต้นมะขาม


    มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย ออกรวมกันเป็นช่อยาว ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาล เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบ สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว หรือ





















วิดีโอประกอบการสอนเกี่ยวกับชื่อของต้นไม้




แบบฝึกหัดเรื่อง ชื่อของต้นไม้
คำชี้แจง ให้นักเรียนลากเส้นตามรอยเส้นประแล้วระบายสี












 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 ส่วนประกอบของต้นไม้


               ส่วนประกอบของต้นไม้
                        1. ราก
                        2. ลำต้น
                        3. ใบ
                        4. ดอก
                        5. ผล

 1.      ราก
เป็นส่วนของพืชที่งอกออกจากเมล็ดก่อนส่วนอื่น และเจริญลงสู่ใต้ดิน รากมีหน้าที่ยึดลำต้นให้ตั้งบนดิน ดูดน้ำและแร่ธาตุที่สะสมอยู่ในดินแล้วลำเลียงขึ้นไปยังส่วนต่างๆของพืช นอกจากนี้รากของพืชบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร 
รากของพืชแบ่งเป็น  2 พวก คือ
รากแก้ว
เป็นรากที่งอกออกจากเมล็ดก่อนส่วนอื่น ในพืชบางชนิดรากแก้วจะเจริญต่อไป มีขนาดใหญ่และยาวกว่ารากอื่นๆ และมีรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้ว

รากฝอย
เป็นรากเส้นเล็กๆมากมายขนาดโตสม่ำเสมอกัน ไม่เรียวลงที่ปลายอย่างรากแก้ว  งอกออกจากรอบๆ โคนต้นแทนรากแก้วที่หยุดเติบ


2.         ลำต้น  
เป็นส่วนของพืชที่อยู่ต่อจากรากขึ้นมา พืชส่วนมากจะมีลำต้นอยู่บนดิน แต่พืชบางชนิดมีลำต้นอยู่ใต้ดินลำต้นประกอบด้วยข้อ  ปล้อง และตา  ลำต้นมีหน้าที่ชูก้าน ใบและดอกให้ได้รับแสงแดด  เป็นทางลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และลำต้นบางชนิดสะสมน้ำและอาหาร










 
เป็นส่วนของพืชที่เจริญเติบโตยื่นออกมาทางข้างของลำต้น มีลักษณะแบน มีสีเขียว ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร คายน้ำและหายใจ
3.         ใบ 
ใบจะมีเส้นใบซึ่งมี  2  ลักษณะ คือ
1. เส้นใบขนาน
2. เส้นใบเป็นร่างแห

                                                                             
                                  เส้นใบขนาน                              เส้นใบเป็นร่างแห


4.         ดอก
เป็นส่วนของพืชที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ ดอกโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ กลีบเลี้ยง  กลีบดอก เกสรตัวผู้  เกสรตัวเมีย  ก้านดอก และฐานรองดอก


5.         ผล  
เป็นส่วนที่เจริญมาจากรังไข่หลังจากดอกได้รับการผสมแล้วผนังรังไข่ชั้นนอกสุด  เจริญเป็นเปลือกของผล  เปลือกของผลไม้บางชนิดอ่อนนุ่ม เช่น องุ่น  บางชนิดอาจหนาและแข็งมาก เช่น  ผลมะพร้าว  ถัดจากเปลือกเข้าไปเป็นชั้นของเนื้อซึ่งอาจอ่อนนุ่มหรือแข็งแห้ง  ผลไม้ที่มีเนื้อนุ่มเรียกผลสด ส่วนผลไม้ที่มีเนื้อแห้งเรียนผลแห้ง









วิดีโอประกอบการสอนเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของต้นไม้




แบบฝึกหัดเรื่อง ส่วนประกอบของต้นไม้
คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ภาพส่วนประกอบของต้นไม้ให้ถูกต้อง













                     กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 การเจริญเติบโตของต้นไม้

การเจริญเติบโตของพืชเป็นการเปลี่ยนแปลงของพืชที่ทำให้มีการเพิ่มน้ำหนัก  เพิ่มขนาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้าง  เช่น  ต้นอ่อนในเมล็ดเจริญเป็นต้นกล้ามีใบเพิ่มขึ้นลำต้นโตขึ้นออกดอกออกผล


เราสามารถวัดการเจริญเติบโตของพืชได้จากน้ำหนัก  ความสูง  หรือความยาวของต้น  จำนวนและขนาดของใบ  ดอก  และผล  มีจำนวนใบเพิ่มขึ้น  ให้ดอก  ให้ผล

ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  พืชจะมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  แต่ถ้าปัจจัยแวดล้อมไม่เหมาะสมการเจริญเติบโตของพืชจะหยุดชะงัก  และถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้พืชตาย  ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช  ได้แก่  อุณหภูมิ  แสง  น้ำ  อากาศและแร่ธาตุ

            

1.    อุณหภูมิ  กระบวนการต่างๆ  จะเกิดขึ้นตามปกติในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมเท่านั้น  แต่ถ้าอุณหภูมิสูงอากาศร้อนจัด  พืชจะคายน้ำมากจนต้นพืชเหี่ยวเฉา  ใบไหม้เหรียม  และตาย
2.     แสง  แสงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อกระบวนการสร้างอาหารที่ใบของพืชซึ่งเรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  พืชนำอาหารที่สร้างขึ้นมาใช้ในการเจริญเติบโตพืชแต่ละชนิดต้องการแสงไม่เท่ากัน  บางชนิดต้องการแสงน้อย  เช่น  กล้วยไม้  บางชนิดต้องการแสงปานกลาง  เช่น  เผิน  และบางชนิดต้องการแสงมาก  เช่น  ผักบุ้ง
3.    น้ำ  รากพืชจะดูดน้ำพร้อมกับแร่ธาตุต่างๆ  ที่มีประโยชน์เข้าไปในลำต้น  เพื่อใช้สร้างอาหาร  ถ้าพืชขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต  เพราะขาดอาหาร  นอกจากนี้ส่วนต่างๆ  ของพืชจะเหี่ยวเฉา เพราะไม่มีน้ำอยู่ภายใน  แต่ถ้าพืชได้รับน้ำมากเกินไป  เช่น  มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน  จะทำให้พืชตาย
4.    อากาศ  พืชต้องการอากาศ  เพื่อใช้ในการหายใจและสร้างอาหาร  ใบพืชรับอากาศได้ โดยตรง  ส่วนรากพืชได้รับอากาศในดินถ้าดินแน่น  การถ่ายเทอากาศไม่ดี  รากดูดน้ำไม่สะดวก
            5.     แร่ธาตุ  แร่ธาตุเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตของพืช  แร่ธาตุที่พืช ต้องการและขาดไม่ได้มีหลายชนิด  พืชจะใช้แร่ธาตุเหล่านี้ในการเจริญเติบโต  การผลิดอกออกผล  คนทั่วไปมักรู้จักกันรูปของปุ๋ย

วงจรการเจริญเติบโตของต้นไม้






















วิดีโอประกอบ เรื่องการเจริญเติบโตของต้นไม้




แบบฝึกหัดเรื่อง การเจริญเติบโตของต้นไม้
คำชี้แจงให้นักเรียนวงกลมข้อที่เรียงลำคับการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้ถูกต้อง










กิจกรรมการเรียนรู้ที่  4  ประโยชน์และโทษของการตัดต้นไม้

ประโยชน์และโทษของการตัดต้นไม้
ประโยชน์ของต้นไม้
1.ต้นไม้จะ ช่วยคายออกซิเจนในช่วงกลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ ซึ่งการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ มีผลดีต่อสุขภาพ ของเรา
2. ช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้
เกิดภาวะโลกร้อน
3. เป็นร่มเงา บังแสงแดด ให้เกิดความร่มรื่น
4. เป็นที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า
5. พืช ผล สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร หรือ ยารักษาโรคได้
6. เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร เนื่องจากที่บริเวณราก ที่ดูดซับน้ำ และ แร่ธาตุ เป็น
การกัก เก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน
7. บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดิน
ป้องกันการพัง ทลายจากดินถล่ม เนื่องจากมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่ ตัวอย่าง
ที่เห็นเด่นชัด คือ การสาธิต การนำหญ้าแฝกมาประยุกต์ ป้องกันการพังทลาย
ของหน้าดิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระปรีชา สามารถของพระมหากษัตริย์ ประเทศของเรา
8. เป็นแนวป้องกัน การเกิดน้ำท่วม เนื่องจาก เมื่อเกิดสภาพที่น้ำเกินสมดุล ท่วมลงมา
จากยอดเขา จะมีแนวป่า ต้นไม้ ช่วยชะลอความแรง จากเหตุการณ์น้ำท่วม
9. ลำต้น สามารถ นำมาแปรรูปทำประโยชน์ ต่างๆ เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย สะพาน


เฟอร์นิเจอร์ เรือ
10. การปลูกต้นไม้ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้อย่างหนึ่ง


 







วิดีโอประกอบการสอนเรื่องประโยชน์ของต้นไม้




 โทษของการตัดต้นไม้

1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
  ป่าที่ถูกทำลายจะทำให้ไม่มีต้นไม้ วัชพืช หญ้าปกคลุมดิน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ
2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน
             บริเวณป่าที่ถูกทำลายจะไม่มีต้นไม้ วัชพืช และหญ้าที่ปกคลุมหน้าดินช่วยดูดซับน้ำฝน  ไว้ ทำให้น้ำไหลบ่าจากที่สูงอย่างรุนแรง และมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่  ตอนล่างอย่างฉับพลัน
3. เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
             การทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธารทำให้ป่าไม้ถูกตัด แยกออกเป็นส่วนๆ  เกิดการระเหยของน้ำจากผิว ดินสูง แต่การซึม ผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บ  น้ำไว้ได้น้อย ส่งผลให้น้ำไหลลงสู่ลำธารน้อยเกิด ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
4. เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น
             เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสาร ระหว่างออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์  น้ำและสารอื่นๆ ในระบบนิเวศที่ สำคัญ การทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิสูง
5. คุณภาพของน้ำเสื่อมลง
  เมื่อฝนตกในบริเวณป่าไม้ที่ถูกทำลายก็จะพัดพาเอาดินโคลน ตะกอนลงสู่  แหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่นและเกิดการตื้นเขินส่งผล ให้คุณภาพน้ำทั้งทางด้าน  กายภาพ ชีวภาพ และเคมีด้อยลง ไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภค  บริโภค ได้
6. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง 
  ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชและสัตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าเป็น  การทำลายแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และความหลากหลายทางชีวภาพ  ทำให้พืชและสัตว์ป่าหลายชนิดมีปริมาณ ลดลงจนเกือบสูญพันธ์






วิดีโอประกอบการสอนเรื่องโทษของการตัดต้นไม้





แบบฝึกหัดเรื่อง ประโยชน์และโทษของการตัดต้นไม้
คำชี้แจง ให้นักเรียนตามรอยเส้นปะแล้วระบายสีให้สวยงาม













กิจกรรมการเรียนรู้ที่  5  การดูแลรักษาและการอนุรักษ์ต้นไม้

           การดูแลรักษาและการอนุรักษ์ต้นไม้
การดูแลรักษาต้นไม้
1.การรดน้ำ ควรรดในตอนเช้าหรือเย็น ช่วงที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป ซึ่งเวลาที่เหมาะสม คือ 6.00 - 8.00 น. และ 17.00 ถึง 21.00 น. ไม่ควรรดน้ำในตอนกลางวันที่แดดจัด เพราะเปรียบเสมือน การเอาน้ำร้อนมารดต้นไม้นั่นเอง อาจรดวันละครั้งในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือรดวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น วิธีรด คือ ควรรดรอบโคนต้นไม้ให้ชุ่มและรดพุ่มใบ ด้วยเพื่อให้ใบพืชซึมซับน้ำ เข้าทาง ปากใบ และลดการคายน้ำ หลังรดน้ำสายยางควรม้วนเก็บให้เรียบร้อย ไม่ควรวางทับสนามหญ้า เพราะนอกจาก จะดูไม่เรียบร้อย น้ำที่ค้างอยู่ในสายยางที่ตากแดดจัดจะร้อนทำให้หญ้าตายได้
2.การใส่ปุ๋ย พยายามอย่าให้เม็ดปุ๋ยติดค้างอยู่ที่ใบและยอด เพราะจะทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้ หรือใส่ก่อนรดน้ำ สำหรับการใส่ปุ๋ยทางใบและฉีดยาฆ่าแมลง ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่อากาศร้อนจัด จะทำให้ใบไหม้และไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ เพราะในช่วงที่อากาศร้อน ปากใบพืชจะปิดเพื่อลดการคายน้ำ การใส่ปุ๋ยไม่ควรใส่บ่อยเกินไปถ้าไม่จำเป็น จะเป็นการเร่งการแตกใบใหม่ ซึ่งใบอ่อนจะไม่ทน กับอากาศ และแสงแดดที่ร้อนจัด
3.การพรวนดิน ให้ร่วนซุยเป็นประจำ จะทำให้ดินโปร่ง มีช่องว่างในเนื้อดินดูดซับน้ำไว้ได้มาก ทำให้น้ำซึมซับลงในดินในระดับที่ลึกกว่าปกติ ถ้าดินแห้งเกินไปอาจใช้วัสดุปลูกมาคลุมแปลงหรือโคนต้น ช่วยดูดซับน้ำ เช่น กาบมะพร้าวสับหรือหญ้าที่แห้งและปราศจากเชื้อโรคและวัชพืช
4.ควรมีการตัดแต่งกิ่ง กระโดง กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ไม่มีความจำเป็น เพื่อลดการคายน้ำของพืช



การอนุรักษ์ต้นไม้

1.การควบคุมการตัดไม้

2.การปลูกป่า

3.การป้องกันไฟป่าและแมลงทำลายต้นไม้

4.การใช้ไม้อย่างประหยัด ใช้วัสดุอื่นแทนไม้ หรือการนำเศษไม้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

5.การปรามปราบผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

6.การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้





   


วิดีโอประกอบ เรื่องการดูแลรักษาและการอนุรักษ์ต้นไม้




แบบฝึกหัดเรื่อง การดูแลรักษาและการอนุรักษ์ต้นไม้

คำชี้แจง ให้นักเรียนระบายสีให้สวยงาม


    
                             ชื่อ………………………………………ชั้น……………







 แบบทดสอบท้ายบทเรียน 

              1.  ข้อใดคือรูปของต้นมะขาม



           2. ข้อใด ไม่ใช่ ส่วนประกอบของต้นไม้
      



          3. ข้อใดเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช


              4. ข้อใดคือการเจริญเติบโตของต้นไม้เป็นลำดับที่ 2

         5. ข้อใดคือโทษของการตัดต้นไม้




         6. ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์ต้นไม้





           7. ข้อใดคือประโยชน์ของต้นไม้



           8. ข้อใดคือการดูแลรักษาต้นไม้



          
          9. ข้อใดเป็นส่วนประกอบของต้นไม้


           10.    จากภาพข้อใดคือผลของใบในภาพ






แบบประเมินครูผู้สอน

  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน *


  
      1.มีการแจ้งหัวข้อเค้าโครงการสอน  (Course Syllabus) ของแต่ละสัปดาห์

1 น้อยที่สุด
2 น้อย
3 ปานกลาง
4 มาก
5 มากที่สุด







       2.มีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยอย่างชัดเจน






        3.มีการเตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย และ/หรืออุปกรณ์การฝึกปฏิบัติล่วงหน้า               







4.มีการชี้แจงหลักเกณฑ์การวัด
และประเมินผลอย่างชัดเจน






  วิธีการสอน *


     5.สามารถอธิบายเนื้อหาวิชาและ/หรือ
ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
1 น้อยที่สุด
2 น้อย
3 ปานกลาง
4 มาก
5 มากที่สุด






   
     6.ใช้ภาษาในการสอนที่เหมาะสม
เข้าใจง่าย              





  
      7.มีอุปกรณ์การสอน สื่อ / เอกสาร
ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น






      8.วิธีการสอนทำให้ผู้เรียนสนใจเรียน
ตลอดเวลา         






       9.  อาจารย์สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน  






      10. 
มีการยกตัวอย่างด้านจริยธรรม
ในเนื้อหาบทเรียน





       11.  มีการวัดผลผู้เรียนเป็นระยะและมีข้อแนะนำ
ให้ผู้เรียนไปปรับปรุงแก้ไข





       12.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นซักถามปัญหา และสรุปประเด็นร่วมกันในห้องเรียน









   



   พฤติกรรมการสอนทั่วไป *


  
  13.  ให้โอกาสผู้เรียนได้ซักถาม
1 น้อยที่สุด   
 2 น้อย  
3 ปานกลาง      
4 มาก     
5 มากที่สุด






   
14.  เข้าสอนและเลิกสอนตรงเวลา





  
      15.  มีความตั้งใจสอนและเข้าสอน
โดยสม่ำเสมอ






     16.  สอนครอบคลุมเนื้อหาตามที่แจ้งไว้ในเค้าโครงการสอน       






      17.  อาจารย์แนะนำเอกสารและแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม    






      18.  อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา





       19.  อาจารย์ตรวจผลงานและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในระยะเวลาที่เหมาะสม             






20.  อาจารย์มีบุคลิกภาพเหมาะสม






























   ข้อเสนอแนะอื่นๆ*